"สิวเรื้อรัง" ปัญหากวนใจระยะยาว


...

สิวมักจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น สำหรับผู้หญิงเริ่มที่ช่วงอายุ 14-17 ปี และผู้ชายเริ่มในช่วงอายุ 16-19 ปี โดยระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน จะมีระดับสูงในช่วงวัยรุ่น ทำให้เราพบสิวในช่วงอายุนี้มากกว่าช่วงอื่น

ฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการสร้างไขมันออกมามากขึ้น และในขณะที่น้ำมันเดินทางจากต่อมไขมันสู่ปากรูขุมขน ไปผสมเข้ากับแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า P.acnes และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนกลายเป็นสิวอุดตัน ระหว่างนั้นเม็ดเลือดขาวในร่างกายจะออกมากำจัดแบคทีเรีย ทำให้เกิดเป็นสิวอักเสบ ตุ่มแดง บวม เจ็บ และเป็นหัวหนองในที่สุด

ปัจจัยหลักของสิวเรื้อรังอาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้

  • ระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายในร่างกายสูง ทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันเพิ่ม ทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิวเรื้อรังขึ้น
  • กรรมพันธุ์ พบว่าถ้าบุคคลในครอบครัวเป็นสิวและมีสภาพผิวมัน จะมีโอกาสเป็นสิวเรื้อรังได้มากกว่าผิวชนิดอื่นๆ
  • การใช้ยาหรือสารเคมีบางชนิด ก็อาจส่งผลให้เกิดสิวได้
  • ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วกระตุ้นให้เกิดสิว ถ้ายังใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นอยู่ก็ยังเป็นสิวได้อย่างต่อเนื่อง
  • สภาพผิวหน้าและความมันบนใบหน้า ของแต่ละบุคคล
  • จากสาเหตุข้างต้น สาวๆ บางท่านที่เผชิญปัญหาสิวเรื้อรัง อาจเกิดจากการใช้ยาคุมชนิดเม็ดรายเดือนรุ่นเก่าที่ไปกระตุ้นฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งปัจจุบันมียาคุมสูตรที่มีโปรเจสตินรุ่นใหม่ ที่ช่วยลดปัญหาการเกิดสิวในผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดได้ เช่น ดีโซเจสทริล, เจสโตดีน, นอร์เจสติเมท เป็นต้น

    ปรึกษาเพิ่มเติมเรื่องฮอร์โมนและการเลือกใช้ยาคุมกำเนิด กับเภสัชกรที่ร้านยาใกล้บ้าน หรือ บริการเภสัชกรรมทางไกลที่ได้มาตรฐาน ก็ได้ครับ

    #คุมให้ดีชีวิตก็ดี
    #ร้านยาที่ดีต้องมีเภสัชกร

    ภก.พีรศรัณย์ ไพฑูรย์
    กลุ่มเภสัชกร เภแคร์ Bhaecare

    Ref:

    1. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. 2018. “สิว...แค่เรื่องสิวๆ” 2019 November. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/november-2019/know-about-acne สืบค้นวันที่ 3 สิงหาคม 2022.
    2. รศ.พญ.ปภาพิต ตู้จินดา และ ผศ.พญ.สุเพ็ญญา วโรทัย. “เป็นสิวไม่ธรรมดา” August 2017. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=781 สืบค้นวันที่ 4 สิงหาคม 2022.
    3. Vincenzo D.L. et al. “Hormonal contraceptives: pharmacology tailored to women’s health”. Human Reproduction Update, Vol.22, No.5 pp. 634–646, 2016.
    4. P. Bilotta, S. Favilli. Clinical Evaluation of a Monophasic Ethinylestradiol / Desogestrel-containing Oral Contraceptive. Drug Res. 38 (II), Nr. 7 1988.