ข้อเสียของยาคุมฉุกเฉิน


...

ยาคุมฉุกเฉิน ประสิทธิภาพต่ำกว่าที่หลายคนคิด

ยาคุมฉุกเฉินไม่เหมาะกับการคุมกำเนิดแบบใช้เป็นประจำ เนื่องจากมีประสิทธิภาพการคุมกำเนิดเพียง 75%-85% เท่านั้น ทางการแพทย์จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะกรณีที่ผิดพลาด เช่น ถุงยางรั่วฉีกขาด หรือ ฝ่ายหญิงถูกกระทำทางเพศโดยไม่ยินยอมเท่านั้น

ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ จากยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

ผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ในยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่อาจพบได้ คือ มีเลือดคล้ายประจำเดือนออกผิดปกติหรือออกกะปริบกะปรอย ตกขาวเป็นสีน้ำตาล มักเกิดในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน สำหรับประจำเดือนมักมาตรงเวลาหรืออาจคลาดเคลื่อนไปบ้างโดยมาเร็วหรือมาช้าไปราว 1 สัปดาห์ นอกจากนี้อาจเกิดอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ตึงเต้านม คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องช่วงล่าง ประจำเดือนมาก หากรับประทานยาครั้งเดียวในขนาด 1.5 มิลลิกรัม อาจพบอาการบางอย่างได้มากขึ้น เช่น ปวดศีรษะ ตึงเต้านม ประจำเดือนมากขึ้น หากรับประทานยามากเกินไปอาจส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติที่รังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก (ถ้าการป้องกันของยาคุมฉุกเฉินล้มเหลว)

ดังนั้นถ้ามีโอกาสเสี่ยงที่จะมีเพศสัมพันธ์ ควรเตรียมตัวป้องกันด้วยวิธีอื่นที่มีประสิทธิภาพสูงดีกว่า เช่นควรเลือกสูตรที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินรุ่นใหม่ที่มีฤทธิ์สมดุล (neutral progestin) เช่น ดีโซเจสทริล, เจสโตดีน, นอร์เจสติเมท เป็นต้น ร่วมกับใช้ถุงยางอนามัย เพราะนอกจากจะคุมกำเนิดได้สูงถึง 99.9% แล้ว โอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยด้วย เช่น ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากสิว เป็นต้น

คุมกำเนิดให้ดีไม่ใช่เรื่องยาก ปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยาใกล้บ้าน หรือบริการเภสัชกรรมทางไกลที่ได้มาตรฐาน ได้เลยนะคะ

#ฉุกคิดดีกว่าฉุกเฉิน
#ร้านยาที่ดีต้องมีเภสัชกร บทความโดย ภก. พัชรมณฑน์ พัชรยุทธิ
กลุ่มเภสัชกร เภแคร์ - Bhaecare

Ref:

  1. โรงพยาบาลเปาโล.” “ยาคุมฉุกเฉิน” กินบ่อยไม่ใช่เรื่องดี นี่คือความจริงที่ผู้หญิงควรรู้ไว้” 2022 August. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/Details/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5/-%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99--%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89
  2. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ความรู้ทั่วไปเรื่องยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน” 2018 February. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/419/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99/%A3
    สืบค้นวันที่ 23 ตุลาคม 2022.